วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 6 ดิน (สรุปเนื้อหา)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 6 ดิน (สรุปเนื้อหา)

Download - เนื้อหา




บทที่ 6 ดินบ้านเรา 



สรุปเนื้อหา  




     ดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดจากหินที่แตกจนกลายเป็นเศษผงเล็ก ๆ ซึ่งในหินมีแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ ผสมคลุกเคล้ากับดินทรียวัตถุ ซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย ผุพัง ดินอยู่บนผิวโลก และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ มนุษย์และสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้รับประโยชน์จากดิน เพราะดินเป็นแหล่งผลิตปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นอกจากนี้ใต้แผ่นดินที่อยู่ลึกลงไปมนุษย์ยังนำแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ แก๊ส และน้ำมันปิโตรเลียม มาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้

     การเกิดดิน และส่วนประกอบของดิน
     ดินเกิดจากการแตกหักผุพังของหินและแร่ธาตุเป็นขนาดเล็ก ๆ ผสมกับอินทรียวัตถุ โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ดิน ฟ้า อากาศ ลม ฝน แสงแดด แผ่นดินไหว กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง ทำให้เกิดการแตก พังทลาย และผุกร่อนของหิน จากนั้นมีการผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ เช่น ซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพังจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทำให้เกิดเป็นดินในที่สุด ดินในที่ต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เพราะมีต้นกำเนิดแตกต่างกัน

     ส่วนประกอบของดิน มีดังนี้
     1) อนินทรียวัตถุ เช่น แร่และหินที่แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่สลายตัวโดยกระบวนการกัดกร่อนทับถมกัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเป็นธาตุอาหารในการเจริญเติบโตของพืช และเป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดในดิน
     2) อินทรียวัตถุ เช่น ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อย ผุพัง หรือการสลายตัวของซากพืช และซากสัตว์ที่ทับถมอยู่บนดิน อินทรียวัตถุก็เป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และมีหน้าที่ช่วยให้ดินมีความร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น
     3) น้ำ ในดิน สามารถพบอยู่ในช่องระหว่างเม็ดดิน หรือเนื้อดิน ซึ่งได้มาจากน้ำฝน หรือน้ำใต้ดินซึมขึ้นมา น้ำในดินมีหน้าที่ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น นอกจากนี้ น้ำยังทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายแร่ธาตุในดิน ซึ่งช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุของพืชด้วย
     4) อากาศ สามารถพบได้ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ซึ่งเรียกว่า ความพรุน แก๊สที่พบโดยทั่วไปในดิน คือ ในโตรเจน ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นส่วนใหญ่

     ชนิดของดิน
     เนื่องจากดินมีส่วนประกอบหลายอย่าง จึงทำให้เนื้อดินมีความแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งดินออกเป็น 3 ชนิด คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน ซึ่งดินเหล่านี้มีสมบัติและลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิด จึงสามารถนำดินแต่ละชนิดไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันด้วย

     ดินเหนียว
     ดินเหนียว เป็นดินที่มีเนื้อดินขนาดเล็กละเอียดมากที่สุด เมื่อมีน้ำขัง จะแทรกลงไปในเนื้อดินได้ยากจึงระบายน้ำและอากาศไม่ดี จับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง เหมาะสำหรับทำนาปลูกข้าว เพราะเก็บน้ำได้นาน ดินเหนียวถ้าเปียกน้ำแล้วมีความยืดหยุ่นอาจปั้นเป็นก้อน หรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานเครื่องปั้นดินเผา พวกอิฐสร้างบ้าน โอ่ง กระถางปลูกต้นไม้ แจกัน จานชาม
    
     ดินทราย
     ดินทราย เป็นดินที่มีเนื้อดินเป็นเม็ดขนาดใหญ่ที่สุด มีทรายปนอยู่มาก สามารถระบายน้ำและอากาศได้ดี ไม่อุ้มน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำมาก พืชจึงได้ธาตุอาหารน้อย พืชที่อยู่ชั้นบนดินทรายจึงขาดทั้งอาหารและน้ำ เป็นดินที่สามารถปลูกพืชได้ดีเป็นบางชนิด เช่น มันแกว มันสำปะหลัง มะพร้าว ต้นจาก และต้นกระบองเพชร โดยเฉพาะในทะเลทรายจะพบต้นกระบองเพชรเป็นจำนวนมาก
     ดินทรายในบางแห่งมีความละเอียดมาก และสะอาด จึงนิยมนำไปผลิตเป็นกระจำ แก้ว หรือเครื่องประดับพวกแก้วคริสตัลได้                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     
     ดินร่วน
     ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียด นุ่มมือถึงขนาดปานกลาง ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกมากที่สุด เนื่องจากดินร่วนมีความร่วนซุย เม็ดดินไม่เกาะตัวกันแน่นเกินไป จึงทำให้รากของพืชหายใจได้สะดวก ไม่สะสมน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รากพืชเน่าเปื่อย นอกจากนี้ ดินร่วนยังมีซากพืชซากสัตว์ ซึ่งแรสภาพเป็นฮิวมัสในดิน นอกจากนี้ยังมีสัตว์ในดินจำนวนมาก ดินจึงมีสีคล้ำ เพราะมีธาตุอาหารซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่มาก จึงจัดได้ว่าเป็นดินดี เหมาะสมกับการเพาะปลูก เช่น ฟัก แตงกวา ผักกาด ไม้ดอกชนิดต่าง ๆ มะม่วง เงาะ ขนุน ลำไย ทุเรียน มังคุด มะเฟือง มะกรูด มะนาว
    
     ประโยชน์ของดิน
     ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืช ดังนั้น ดิน จึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างมาก สิ่งมีชีวิตใช้ประโยชน์จากดินมากมาย เช่น
  1)  ใช้เพาะปลูกพืช ซึ่งพืชมีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนและสัตว์ เช่น เป็นอาหาร คนใช้พืชสร้างที่อยู่อาศัย ใช้เป็นยารักษาโรค
  2) เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ เพราะสัตว์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นดิน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข เสือ แต่มีสัตว์บางชนิดอาศัยอยู่ในดิน เช่น มด ตัวตุ่น หนอน ไส้เดือนดิน กิ้งกือ ปลวก
  3) ใช้ทำของใช้ต่าง ๆ เช่น ถ้วย ชาม แจกัน โอ่งน้ำ กระถางต้นไม้ เครื่องแก้ว ลูกแก้ว สร้อย เซรามิก แป้งทาหน้า เครื่องประดับ ของเล่นสำหรับเด็ก
  4) ใช้สร้างและเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น อิฐ ทำมาจากดินเหนียวผสมกับทรายและแกลบ หรือขี้เลื่อยผสมกัน






Download - เนื้อหา

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 5 แรง (แบบทดสอบ)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 5 แรง (แบบทดสอบ)







เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 5 แรง - แบบฝึกหัด

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 5 แรง - แบบฝึกหัด





เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 5 แรง (สรุปเนื้อหา)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 5 แรง (สรุปเนื้อหา)




บทที่ 5 แรง




สรุปเนื้อหา  




     แรง เป็นพลังงานที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลง และเกิดการเคลื่อนที่โดยเปลี่ยนจากหยุดนิ่งเป็นเครื่องที่ หรือทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วเคลื่อนที่เร็วขึ้น ช้าลง หรือหยุดนิ่ง เช่น การดัน หรือดึงบานประตู การยกหนังสือ เข็ญรถ สามารถแบ่งประเภทของแรงออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

     แรงที่เกิดจากธรรมชาติ
     แรงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แรงน้ำ แรงลม แรงแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งแรงเหล่านี้มนุษย์ไม่สามารถกระทำให้เกิดขึ้นได้ แรงธรรมชาติมีทั้งประโยชน์ และโทษ เช่น แรงน้ำทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของน้ำ มนุษย์ใช้ประโยชน์ในการคมนาคม แต่หากแรงน้ำมากเกินไปอาจทำอันตรายผู้คนและบ้านเรือนได้ เช่น ทำให้หินและดินโคลนจากภูเขาถล่มทับบ้านเรือน ทำให้บ้านเรือนเสียหายและผู้คนบาดเจ็บล้มตาย

     แรงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
     แรงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ จากหยุดนิ่งเป็นเคลื่อนที่ วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วให้เคลื่อนที่เร็วขึ้น ช้าลง หรือหยุดนิ่ง และเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เช่น เมื่อเราดันหรือดึงประตู ยกหนังสือ ยกกระเป๋า หรือขับรถยนต์ สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถเคลื่อนที่ได้ เป็นการกระทำของมนุษย์ ทำให้เกิดขึ้นโดยการออกแรงของมนุษย์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้

·      แรงผลัก
     แรงผลัก หมายถึง การออกแรงดันให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัวเราไปทางด้านหน้า กิจกรรมในชีวิตประจำวันทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับแรงผลัก เช่น การผลักหน้าต่าง และประตูให้เปิดออกไป เตะฟุตบอล เข็นรถเข็น ขี่รถจักรยาน ตีลูกเทนนิส ตีลูกปิงปอง โยนห่วงลงหลัก

·      แรงดึง
     แรงดึง หมายถึง การออกแรงเหนี่ยวหรือดึง ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามาหาตัวเรา ซึ่งเป็นทิศทางตรงกันข้ามกับแรงผลัก กิจกรรมในชีวิตประจำวันของทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับแรงดึงด้วยเหมือนกัน เช่น ดึงกล่องมาหาตัวเรา ดึงผ้าจากราวตากผ้า ยกกระเป๋าหนังสือจากพื้น ชักเย่อ ลากรถของเล่น ดึงเชือกสปริงให้ยืดออกเพื่อออกกำลังหาย ช้างลากท่อนไม้ ดึงสายธนูเพื่อยิงเป้า

     ผลของการออกแรง
     แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ แรงทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่เปลี่ยนแปลงไป เร็วขึ้น ช้าลง หยุดนิ่งอยู่กับที่ หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้ แรงยังมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ เช่น การออกแรงขยำวัตถุแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวร หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียงชั่วคราว เช่น การขยำแผ่นกระดาษ จะทำให้แผ่นกระดาษยับยู่ยี่ไม่เรียบ การขยำผ้าหรือฟองน้ำที่ซักให้สะอาดจะทำให้ผ้าหรือฟองน้ำยับยู่ยี่เพียงชั่วคราว เมื่อนำผ้าไปรีดหรือปล่อยให้แห้งและหยุดขยำฟองน้ำ จะทำให้ผ้าหรือฟองน้ำเรียบเหมือนเดิม เมื่อออกแรงบีบ กด หรือดัด ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากเดิมแบบถาวร เช่น การทำเค้าหู้แผ่น หรือการเอาดินเหนียว ดินน้ำมัน นำมาปั้นแล้วบีบกดให้เป็นรุปต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น โอ่งน้ำ การถางต้นไม้ เครื่องปั้นดินเผาต่าง ๆ หรือนำผ้ามาตัดเป็นเสื้อ กางเกง และกระโปรง ทรายเมื่อถูกความร้อนจะหลอมละลายเมื่อนำไปใส่ในแม่พิมพ์แบบต่าง ๆ หรือเป่าให้โป่งออก แล้วทำให้เย็นทันที ทรายจะเปลี่ยนแปลงรุปร่างไปจากเดิมแบบถาวร เช่น ขวด แก้ว จาน แจกัน รูปสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งจะมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรไม่กลับมาอยู่ในสภาพเดิม วัตถุบางชนิดเมื่อออกแรงกระทำแล้ว รูปร่างของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และสามารถกลับคืนเหมือนเดิมเมื่อแรงที่กระทำหมดไป เช่น ยางรัดของ สปริง ฟองน้ำ ลูกโป่ง




ตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 4 สารรอบตัวเรา (แบบทดสอบ)

ตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 4 สารรอบตัวเรา (แบบทดสอบ)







เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 4 สารรอบตัวเรา แบบฝึกหัด

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 4 สารรอบตัวเรา  แบบฝึกหัด










เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 4 สารรอบตัวเรา (สรุปเนื้อหา)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 4 สารรอบตัวเรา  (สรุปเนื้อหา)




บทที่ 4 สารรอบตัวเรา     



สรุปเนื้อหา  




     การใช้ชีวิตประจำวันของเรา จะมีสิ่งของและเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการทำงานให้สะดวกสบาย เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องครัว ถ้วยชาม ถังน้ำ จอบ เสียม มีด รถยนต์ จักรยาน เครื่องประดับ ของเล่น ซึ่งของใช้และของเล่นทำมาจากวัสดุต่าง ๆ ที่ได้มาจากธรรมชาติ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ไม้ หิน ดิน ทราย พลาสติก กระดาษ โลหะ

     ของใช้
     ของใช้ หมายถึง สิ่งของ หรือวัตถุอุปกรณ์ที่มนุษย์นำมาใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยในการดำรงชีวิตภายใต้การทำกิจกรรม เช่น การนั่ง นอน รับประทานอาหาร ทำงาน ซึ่งอาจเป็นของใช้ส่วนตัว อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน และเครื่องใช้ในบ้าน ของใช้เพื่อการเรียน ของใช้ต่าง ๆ บางชนิดผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น

·      ของใช้ที่ทำมาจากพืช
ของใช้ที่ทำมาจากพืช เช่น
-     ผลิตจากไม้ยืนต้น เช่น ไม้ยาง ไม้ฉำฉา สัก ตะแบก ยางพารา จะนำไปทำเป็นโต๊ะอาหาร โต๊ะทำงาน ตู้เสื้อผ้า เตียงนอน กล่องเก็บของ เก้าอี้ ตู้หนังสือ ชั้นวางของ ดินสอ
-     ผลิตจากไม้ไผ่ ใบลาน ใบตาล และต้นกก จะนำไปทำเป็นพัด กระบุง ตะกร้า เสื่อ
-     พืชบางชนิด เช่น ไม้ยูคาลิปตัส นำมาผลิตเป็นกระดาษ เพื่อผลิตเป็นสมุดหนังสือ และนำไปใช้อย่างอื่นอีกมากมาย
-     น้ำยางจากต้นยางพารา นำมาผลิตเป็นยางรถชนิดต่าง ๆ ยางรัดของ รองเท้า ลูกโป่ง ยางลบ
-     เส้นใยจากพืช เช่น ฝ้าย ลินิน ผลิตเป็นผ้า นำมาผลิตเป็นของใช้ เช่น เครื่องนุ่งห่ม กระเป๋า ถุงเท้า เสื้อผ้า หมอน

·      ของใช้ที่ทำมาจากสัตว์
ของใช้ที่ทำมาจากสัตว์ โดยใช้หนัง กระดูก เส้นใย หรือเปลือก เช่น ใยไหม นำมาผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เปลือกหอยนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับร่างกาย เครื่องประดับตกแต่งบ้าน กระดูกสัตว์นำมาผลิตเป็นสร้อย แหวน ตุ้มหู กำไล เครื่องตกแต่งบ้านเรือน ส่วนหนังนำมาผลิตเป็นเสื่อ กางเกง กระเป๋า รองเท้า ถุงมือ และเครื่องประดับ

·      ของใช้ที่ทำมาจากโลหะ
ของใช้บางชนิดทำมาจากโลหะ เช่น เหล็ก ทอง เงิน ทองแดง อะลูมิเนียม และสังกะสี เช่น จอบ เสียม เลื่อย โซ่ มีด ลวด แหวน สร้อย เครื่องประดับ รถยนต์

·      ของใช้ที่ทำมาจากดิน หิน และทราย
ของใช้บางชนิดทำมาจากดินเหนียว หิน ทราย นำมาผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูง  มาก ๆ เช่น ทำเครื่องเซรามิก เครื่องปั้นดินเผา แผ่นกระเบื้องชนิดต่าง ๆ และเครื่องแก้ว

·      ของใช้ที่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์
ของใช้บางชนิดทำมาจากสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น
-     พลาสติก เช่น ถังน้ำ เก้าอี้ ถ้วยชาม ส่วนประกอบของรถยนต์ จักรยาน จักรยานยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์
-     ใยสังเคราะห จะนำไปทำเป็นผ้าใยสังเคราะห์ เพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน
-     หนังเทียม นำมาผลิตเป็นเบาะรถยนต์ กระเป๋า รองเท้า ถุงมือ เครื่องเรือน




ของเล่น
ของเล่น หมายถึง ของ หรือวัตถุอุปกรณ์นำมาเล่น ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ช่วยฝึกสมอง ฝึกการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดการเรียนรู้ และยังเกิดจินตนาการ
1) ของเล่นที่มาจากวัสดุธรรมชาติ ส่วนมากจะเป็นของเล่นของเด็กที่อาศัยอยู่ในชนบท เช่น ลูกข่าง ม้าก้านกล้วย กะลามะพร้าวร้อยเชือกนำมาเดินแข่งกัน ไม้ไผ่หกสูง นกและปลาตะเพียนสาร กังหัน
2) ของเล่นที่ทำมาจากวัสดุที่สังเคราะห์ เช่น พลาสติก ซิลิโคน ไฟเบอร์ ใยสังเคราะห์ โดยจะทำเป็นตุ๊กตา ลูกแก้ว ลูกบอล ป๋องแป๋ง ปืนฉีดน้ำ หุ่นยนต์ ของเล่นที่เป็นเครื่องครัว ดินน้ำมัน ตัวต่อ รถเด็กเล่นทุกชนิด กระดาษพับรูปต่าง ๆ ดินน้ำมัน ยางรูปสัตว์ต่าง ๆ เครื่องร่อนรถ เครื่องบินเล็ก ของเล่นที่มีเครื่องบังคับ เกมส์กด เครื่องเล่นเกมไฟฟ้า

การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุ
วัสดุที่ผลิตขึ้นจากสารต่าง ๆ ย่อมมีสมบัติแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อนำมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ก็จะนำไปใช้ผลิตของใช้และของเล่นได้ แต่ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ก็ก่อให้เกิดโทษและอันตราย
มนุษย์ได้นำความรู้จกาการเปลี่ยนแปลงของวัสดุมาใช้ในการผลิตของเล่นและของใช้โดยวิธีการต่าง ๆ กัน เช่น การบิด การบีบ การทุบ การฉีก และการดัด

·      การบิด
การบิด หมายถึง การออกแรงบิดวัสดุให้เกิดเปลี่ยนรูปร่างเป็นแผ่นบิดเบี้ยว การบิด ทำให้เกิดเป็นของใช้และของเล่นต่าง ๆ เช่น การนำเส้นด้ายมาบิดพันกันเป็นเส้นเชือก หรือนำเหล็กเส้นมาบิดพันกันเป็นลวดสลิง หรือบิดขดเป็นลวดสปริง เพื่อการผลิตของใช้และของเล่น หรือนำโลหะพวกทอง หรือเงิน ยืดบิดพันกันเป็นเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน



·      การบีบ
การบีบ หมายถึง การบีบวัสดุให้เป็นแผน หรือกดอัดให้แน่น การบีบทำให้เกิดเป็นของใช้และของเล่นต่าง ๆ เช่น ผลิตกระเบื้องด้วยการใช้ทราย และปูนซีเมนต์ ผสมน้ำกดอัดในแบบพิมพ์ หรือใช้เศษไม้กับกาวกดอัดในแม่พิมพ์จนได้ไม้อัด และยังใช้นุ่น สำลี ฝ้าย และเส้นใยมะพร้าวทำเป็นที่นอน หมอน ตุ๊กตา หรือรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ

·      การดัด
การดัด หมายถึง การนำวัสดุมาดัดให้เกิดการโค้งงอ บิดเบี้ยว นิยมใช้กับวัสดุที่มีความเหนียว เช่น เหล็ก สังกะสี ทองแดง เงิน ทอง พลาสติก การดัดทำให้เกิดเป็นของใช้และของเล่นต่าง ๆ เช่น การนำเหล็กมาดัดให้โค้งงอเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อทำประตูและหน้าต่าง ป้องกันการขโมย นำสังกะสีมาดัดทำกระป๋องออมสิน ถังน้ำ รูปสัตว์ หรือนำมาผลิตของเล่น เช่น เรือ รถยนต์ หรือนำทองและเงินมาดัดเป็นเครื่องประดับ

การดูแลรักษาของใช้และของเล่น
ของใช้และของเล่น เมื่อใช้ไปนาน ๆ วัสดุหรือสิ่งของเหล่านั้นอาจจะเกิดการชำรุด แตกหักเสียหาย หากต้องการให้ของใช้และของเล่นมีความคงทน มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น ต้องดูแลรักษาของใช้และของเล่น ดังนี้
1)   ก่อนนำของใช้หรือของเล่นมาใช้งาน ต้องรู้วิธีการใช้หรือวิธีการเล่นของเล่นให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
2)  รู้จักใช้ของเล่นและของใช้อย่างทะนุถนอม ไม่ใช้ความรุนแรงในการใช้หรือเล่น และเมื่อใช้และเล่นแล้วไม่ทิ้งขว้าง เมื่อเลิกใช้แล้วต้องเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3)  ไม่นำของใช้หรือของเล่นนั้นใส่ปาก หู เพราะอาจได้รับอันตรายจากวัสดุที่นำมาผลิต หรืออาจได้รับเชื้อโรคจากของใช้และของเล่นเหล่านั้น
4) รู้จักซ่อมของใช้และของเล่นเอง หรือโดยไม่ทิ้งแล้วซื้อใหม่ หมั่นตรวจดูของใช้ของเล่นอยู่เสมอ











เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 3 ชีวิตพืช (แบบทดสอบ)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 3 ชีวิตพืช (แบบทดสอบ)







เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 3 ชีวิตพืช - แบบฝึกหัด

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 3 ชีวิตพืช - แบบฝึกหัด












เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 3 ชีวิตพืช (สรุปเนื้อหา)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 3 ชีวิตพืช (สรุปเนื้อหา)




บทที่ 3 ชีวิตพืช



สรุปเนื้อหา  




     พืช จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพราะมีคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตเหมือนสัตว์และคน โดยที่พืชมีความต้องการอาหาร และสามารถสร้างอาหารเองได้ด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง จะได้น้ำตาลสำหรับไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืช นอกจากนี้ยังมีการหายใจ เจริญเติบโต และสืบพันธุ์ได้
     พืชมีจำนวนมาก มีลักษณะ ขาด ความซับซ้อนของโครงสร้าง และการดำรงชีวิตที่แตกต่าง พืชอาศัยอยู่ทั้งบนบก เช่น มะขาม มะพร้าว มะม่วง กระบองเพชรในน้ำ เช่น บัว ผักตบชวา สาหร่าย
     พืชจะมีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกัน แต่จะมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน คือ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด



     ราก
     ราก เป็นส่วนประกอบที่เจริญงอกงามจากเมล็ดลงสู่พื้นดินตามแรงโน้มถ่วงของโลก รากจะไม่มีข้อ ปล้อง ตา และใบ รากของพืช บางครั้งไม่ได้งอกออกจากเมล็ด ซึ่งโดยทั่วไปงอกออกจากลำต้นลงไปในพื้นดิน รากของพืชมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช จำแนกชนิดของรากได้ดังนี้
     1) รากแก้ว เป็นรากที่งอกออกมาจากเมล็ด โคนของรากแก้วมีขนาดใหญ่เรียวไปจนถึงปลายราก พืชใบเลี้ยงคู่ส่วนมากจะมีรากแก้ว รากแก้วเป็นรากที่สำคัญมาก ทำให้ต้นพืชมีอายุอยู่ได้นาน เพราะรากแก้วจะแทงลงในดินได้ลึก ทำให้พืชสามารถยืนต้นโดยไม่ล้มง่าย ด้านข้างของรากแก้ว จะแตกออกเป็นราแขนงจำนวนมากเพื่อดูดซึมน้ำและอาหารในดินไปบำรุงลำต้น กิ่งก้าน และใบ
     2) รากแขนง เป็นรากที่แตกออกมาจากรากแก้ว พบในพืชในเลี้ยงคู่ โดยจะเจริญเติบโตขนานไปกับพื้นดิน สามารถแตกแขนงไปได้เรื่อย ๆ เพื่อดูดซึมอาหารและน้ำในดินส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืช รากแขนงในพืชบางชนิดสามารถเก็บสะสมอาหารได้ เช่น รากมันแกว มันเทศ และมันสำปะหลัง
     3) รากฝอย เป็นรากที่มีลักษณะและขนาดโตเท่ากันตั้งแต่โคนจนถึงปลายราก งอกออกจากลำต้น หรือตามข้อของลำต้นเป็นกระจุก พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น กล้วย อ้อย กระชาย มะพร้าว ตาล ปาล์ม รากฝอยของพืชบางชนิดเก็บสะสมอาหารได้ เช่น กระชาย

     หน้าที่ของราก มีดังนี้
1)   ยึดลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
2)  ดูดน้ำและธาตุอาหารจากดินส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืช
3)  ในพืชบางชนิดได้เปลี่ยนแปลงรากให้ทำหน้าที่พิเศษ เช่น รากสังเคราะห์ด้วยแสงของกล้วยไม้ รากค้ำจุนของต้นโกงกาง รากเก็บสะสมอาหาร เช่น มันเทศ กระชาย มันสำปะหลัง



ลำต้น
ลำต้น เป็นส่วนที่เจริญอยู่เหนือพื้นดิน มีขนาดรูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันไป ลำต้นมีทั้งลำต้นอยู่เหนือดิน เช่น มะละกอ มะม่วง มะนาว ชมพู่ บางชนิด ลำต้นอยู่ใจ้ดินและเก็บสะสมอาหาร เช่น ขิง ข่า ขมิ้น กล้วย เผือก หญ้าแพรก พุทธรักษา แห้ว ลำต้นของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เมื่อเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านสาขามากมาย มีตั้งแต่พืชล้มลุกที่เลื้อยคลุมดิน เช่น แตงกวา ฟักทอง ผักบุ้ง ต้อยติ่ง เถาวัลย์ต่าง ๆ พืชล้มลุกอายุสั้น เช่น พืชผักสวนครัวพวกผักชี ผักกาด ผักคะน้า พริก กระเพรา โหระพา กะหล่ำปลี หญ้า ข้าวโพด พืชยืนต้น มะม่วง เงาะ ทุเรียน สัก ตะแบก ฝรั่ง มะพร้าว หมาก ตาล ปาล์ม

หน้าที่ของลำต้น มีดังนี้
1)   เป็นแกนช่วยพยุงอวัยวะต่าง ๆ เช่น กิ่ง ใบ ดอก ผล และเมล็ด ช่วยให้ใบกางออกรับแสงแดดเพื่อใช้ในการสร้างอาหาร
2)  เป็นทางลำเลี้ยงน้ำ และแร่ธาตุที่รากดูดขึ้นมาส่งต่อไปยังใบและส่วนต่าง ๆ ของพืช
3)  เป็นทางลำเลียงอาหารที่ใบสร้างขึ้นส่งผ่านลำต้นไปยังรากและส่วนอื่น ๆ


ใบ
ใบ เป็นส่วนที่เจริญงอกออกมาจากข้อของลำต้นและกิ่ง ใบส่วนใหญ่จะมีสารสีเขียนช่วยในการสร้างอาหารเพื่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืช ใบของพืชมีลักษณะรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ใบประกอบด้วย ก้านใบ แผ่นใบ เส้นกลางใบ และเส้นใบ

หน้าที่ของใบ มีดังนี้
1)   ใบของพืชจะมีสารสีเขียวซึ่งทำหน้าที่เก็บพลังงานแสงเอาไว้ เมื่อพืชดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปก็จะเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งจะได้อาหารสำหรับเจริญเติบโต
2)  เป็นบริเวณที่มีการคายน้ำ เพราะที่ใบจะมีปากใบ
3)  ใบของพืชจะหายใจโดยการดูดแก๊สออกซิเจนและคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
4) ใบทำหน้าที่พิเศษ เช่น ใบเปลี่ยนแปลงไปเป็นมือเกาะ ทำหน้าที่ยึดเกาะทำให้ลำต้นสามารถไต่ขึ้นที่สูงได้ เช่น มะระ พวกแสด ตำลึง ฝักทอง หรือใบเปลี่ยนไปเป็นหนามเพื่อลดการสูญเสียน้ำของพืช เช่นกระบองเพชร

ดอก
ดอก เป็นอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ของพืช โดยจะมีสีสัน กลิ่น และน้ำหวานที่ช่วยล่อให้แมลงหรือสัตว์มาผสมเกสรให้ เช่น ดอกชบา ดอกเยอร์บีร่า ดอกทานตะวัน ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกกล้วยไม้ ดอกบัว ดอกกระดังงา




ส่วนประกอบของดอก มีดังนี้
1)   กลีบเลี้ยง เป็นส่วนที่มีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายให้กับอกขณะตูม
2)  กลีบดอก เป็นส่วนที่มีสีต่าง ๆ สวยงาม เช่น สีแดง เหลือง ชมพู แสด ม่วง ขาว ทำหน้าที่ล่อแมลง
3)  เกสรเพศผู้ อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป มีอยู่หลายอัน ทำหน้าที่สร้างละอองเรณูไว้ผสมพันธุ์
4) เกสรเพศเมีย อยู่ในสุด สร้างไข่ไว้ผสมพันธุ์ ซึ่งปลายสุดของเกสรเพศเมียจะมีน้ำหวานเหนียว ๆ สำหรับจับเกสรเพศผู้ที่ติดขาของแมลงที่มากินน้ำหวาน

หน้าที่ของดอก มีดังนี้
1)   ช่วยล่อแมลงให้มาผสมเกสร
2)  ทำหน้าที่ผสมพันธุ์
ผล
ผล คือ ส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรเพศผู้กับเกสรเพศเมีย มีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช ผลบางชนิดนำมารับประทานเป็นผลไม้ เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย ขนุน ทุเรียน เงาะ มังคุด แตงโม แตงไทย ผลบางชนิดนำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ฟักทอง แตงกวา มะเขือ มะรุม มะระ ผลบางชนิดสามารถนำมาปรุงเป็นยาได้ เช่น ดีปลี มะเกลือ มะแว้งเครือ กระวาน แต่มีผลบางชนิดรับประทานไม่ได้ เช่น ยางพารา สบู่ดำ ผลของพืชทำหน้าที่ในการแพร่พันธุ์

เมล็ด
เมล็ด เป็นอวัยวะที่ใช้ในการแพร่พันธุ์ เกิดจากการผสมพันธุ์ของละอองเรณู และไข่ เกิดเป็นเมล็ดขึ้น ภายในมีต้นอ่อนอยู่ เมื่อหล่นลงดิน จึงงอกเป็นต้นอ่อนเจริญเติบโตต่อไป

ประโยชน์ที่ได้รับจากพืช
ประโยชน์ที่ได้รับจากพืช มีดังนี้
1)   ให้ร่มเงา
2)  ช่วยดูดอากาศเสีย เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไปใช้ในการสร้างอาหาร และผลิตแก๊สออกซิเจนออกมา ซึ่งเป็นการลดภาวะโลกร้อน
3)  ช่วยปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้เกิดการสมดุล และป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ
4) นำมาใช้ในการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ และสร้างบ้านเรือน เช่น ทำเครื่องนุ่งห่ม โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง ของเล่น
5) นำมาทำเป็นอาหาร เช่น ใบผักกาดหอม กะหล่ำปลี คะน้า ผักกาด ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ดอกโสน ดอกแค มะนาว พริกไทย ฟักทอง ถั่ว งา
6) นำมาใช้ประดับที่ต่าง ๆ เช่น กล้วยไม้ กุหลาบ ดาวเรือง บานชื่น มะลิ สร้อยทอง
7) นำกลิ่นที่สกัดจากดอกมาทำกลิ่นหอมไปใช้ในการทำเครื่องหอม เช่น มะลิ กระดังงา จำปี จำปา







เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 2 ตัวเรา (แบบทดสอบ)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 2 ตัวเรา (แบบทดสอบ)








เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 2 ตัวเรา - แบบฝึกหัด

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 2 ตัวเรา - แบบฝึกหัด