วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

เตรียมสอบ ป.1 - (สังคมศึกษา) สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

เตรียมสอบ ป.1 - (สังคมศึกษา) สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม


Download - เนื้อหา



สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม 


1.   ครอบครัวของฉัน
     สมาชิกในบ้านที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก เรียกว่า ครอบครัวเดี่ยว ถ้ามีสมาชิกหลายคน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น เรียกว่า ครอบครัวขยาย
·      ปู่ คือ พ่อของพ่อ
·      ตา คือ พ่อของแม่
·      ย่า คือ แม่ของพ่อ
·      ยาย คือ แม่ของแม่
·      ลุง คือ พี่ชายของพ่อ หรือแม่
·      ป้า คือ พี่สาวของพ่อ หรือแม่
·      น้า คือ น้องของแม่
·      อา คือ น้องของพ่อ

2.  หน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว
บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว มีดังนี้
·      พ่อ เป็นหัวหน้าครอบครัว มีหน้าที่ทำงานหาเงินเลี้ยงดูสมาชิก
·      แม่ เป็นผู้ช่วยหัวหน้าครอบครัว ทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน ดูแลงานบ้าน
·      ลูก เป็นสมาชิกในครอบครัว มีหน้าที่เรียนหนังสือ ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือพ่อแม่ตามความสามารถ

หน้าที่ของตนเองในครอบครัว
     เราเป็นสมาชิกในครอบครัว มีหน้าที่ในครอบครัว ดังนี้
1)   หน้าที่ในการดูแลสุขภาพร่างกาย หากเจ็บไข้ พ่อแม่ต้องพาเราไปรักษา
2)  หน้าที่ในการเป็นลูกที่ดี เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้านเท่าที่จะทำได้ รักใคร่สามัคคีกัน
3)  หน้าที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมในครอบครัว เช่น ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ช่วยกันทำอาหาร เป็นต้น

3.  การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
ครอบครัวจะมีความผาสุกได้นั้น สมาชิกในครอบครัวต้องปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกที่ดี ดังนี้
1)   ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของตนเองด้วยความเต็มใจ
2)  ให้อภัยซึ่งกันและกัน กล่าวคำขอโทษเมื่อทำผิด
3)  ใช้จ่ายอย่างประหยัด รู้จักเก็บออม
4) ห่วงใย เอื้ออาทรต่อกัน พูดจาไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
5) ช่วยกันดูแลทำความสะอาดบ้าน
6) ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

4.  บทบาทหน้าที่ และสิทธิของตนเองในครอบครัว
เราเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว เรามีบทบาทหน้าที่และสิทธิในฐานะลูก และสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว ดังนี้
1)  บทบาทหน้าที่ในฐานะลูกที่ดี ได้แก่
o  เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่
o  ประพฤติตนเป็นคนดี
o  รู้จักช่วยเหลือตัวเอง
o  ช่วยพ่อแม่ทำงาน
2) สิทธิของเราในฐานะลูก ได้แก่
o  สิทธิในการได้รับการเลี้ยงดูและดูแลจากพ่อแม่
o  สิทธิในการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
o  สิทธิในการทำกิจกรรมของครอบครัว
5.  โรงเรียนของฉัน
โรงเรียนเป็นสถานที่ศึกษาที่มีไว้ให้นักเรียนได้ศึกษาเล่าเรียน มีครูตอบอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี นักเรียนจึงควรรู้จักบุคคลต่าง ๆ ภายในโรงเรียน เพื่อจะได้ปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสม ซึ่งได้แก่
1)  ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือครูใหญ่ เป็นหัวหน้าครู และบุคลากรภายในโรงเรียน มีหน้าที่กำกับดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างภายในโรงเรียน
2) ครู มีหน้าที่สอนหนังสือ อบรมสั่งสอนศิษย์ (นักเรียน) ให้เป็นคนดี
3) นักเรียน มีหน้าที่ เรียนหนังสือ เชื่อฟังคำสั่งสอนของครู ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน
4) ครูบรรณารักษ์ คือ ครูที่ทำหน้าที่ดูแลห้องสมุด จัดระบบหนังสือ รวมถึงการซ่อมแซมหนังสือให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
5) ครูพยาบาล คือ ครูที่ประจำอยู่ห้องพยาบาล มีหน้าที่ดูแลสุขภาพร่างกายของนักเรียน จ่ายยาเมื่อยามเจ็บไข้ และทำแผลเมื่อประสบอุบัติเหตุ
6) ภารโรง มีหน้าที่ดูแลความสะอาด และความสวยงามภายในโรงเรียน
7) พ่อค้า แม่ค้า มีหน้าที่ทำอาหารขายให้แก่ทุกคนในโรงเรียน เป็นต้น

6.  การปฏิบัติต่อบุคคลในโรงเรียน
นักเรียนควรปฏิบัติตนต่อบุคคลในโรงเรียน ดังนี้
1)   เคาพรและเชื่อฟังครูทุกท่าน
2)  พูดจาไพเราะกับทุกคนในโรงเรียน
3)  รักและสามัคคีกันในหมู่นักเรียน
4) ช่วยเหลือครู และเพื่อน ๆ นักเรียนเท่าที่จะทำได้
5) แสดงกิริยาอาการสุภาพต่อทุกคนในโรงเรียน

ทุกคนในโรงเรียนต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป หากทุกคนทำหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในโรงเรียนอย่างมีความสุข

7.  บทบาทหน้าที่ของตนเองในโรงเรียน
เราเป็นนักเรียน มีบทบาทหน้าที่ในโรงเรียน ดังนี้
1)   เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เชื่อฟังครูและบุคคลอื่น ๆ ในโรงเรียน
2)  ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
3)  รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
4) มีความสามัคคี ช่วยกันทำความสะอาดห้องเรียน และบริเวณโรงเรียน
5) ปฏิบัติตามข้อตกลงในห้องเรียนและกฎระเบียบของโรงเรียน

8.  สิทธิของตนเองในโรงเรียน
สิทธิของเราในฐานะนักเรียน มีดังนี้
1)   สิทธิที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างน้อย 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้
2)  สิทธิในการใช้สาธารณสมบัติของโรงเรียน เช่น สนามเด็กเล่น ห้องสมุด เป็นต้น
3)  สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินของตนเอง เช่น สมุด ดินสอ ยางลบ เป็นต้น โดยจะให้เพื่อน ๆ หรือใครยืมก็ได้
4) สิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน เช่น กีฬาสีโรงเรียน นิทรรศการในโรงเรียน เป็นต้น

9.  การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน
เมื่ออยู่ที่บ้าน เราต้องเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว และเมื่ออยู่ที่โรงเรียน เราต้องเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียนด้วย เช่น
·      ทำความเคารพและกล่าวสวัสดีครูที่มาต้อนรับหน้าโรงเรียน
·      เข้าแถวเคารพธงชาติอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
·      ไหว้และกล่าวคำขอบคุณเอรับของจากครู
·      กล่าวขอโทษเมื่อทำผิดต่อผู้อื่น
·      เมื่อเก็บสิ่งของได้ภายในโรงเรียน ควรส่งคืนเจ้าของหรือแจ้งครู
·      มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดภายในโรงเรียน
·      ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
10.  กิจกรรมตามกระบวนการประชาธิปไตยในครอบครัวและโรงเรียน
หากจะระบุว่ากิจกรรมใดในครอบครัว หรือโรงเรียนเป็นกิจกรรมตามกระบวนการประชาธิปไตยหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากความสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เช่น หลักสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพ หลักความเสมอภาค (ความเท่าเทียมกัน) หลักเสียงข้างมาก หลักการใช้เหตุผล หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม (กฎหมาย) เป็นต้น
ตัวอย่างลักษณะของกิจกรรมตามกระบวนการประชาธิปไตยในครอบครัวและโรงเรียน มีดังนี้
กิจกรรมในครอบครัว
กิจกรรมในโรงเรียน
-     การช่วยกันทำความสะอาดบ้าน
-     การปฏิบัติตามข้อตกลงภายในบ้าน
-     การปฏิบัติตามหน้าที่ของสมาชิก
-     การช่วยกันประหยัดน้ำ ไฟ ในบ้าน
-     การรับฟังความคิดเห็นของคนในครอบครัว
-     การรู้รักสามัคคี ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง
-     การช่วยกันทำความสะอาดห้องเรียน
-     การปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน
-     การปฏิบัติตามหน้าที่ของนักเรียน
-     การร่วมกันประหยัดน้ำ ไฟ ในโรงเรียน
-     การรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน ๆ
-     การเลือกตั้งหัวหน้าห้อง หรือสภานักเรียน

11.  ความดีของตนเองและผู้อื่น
การทำความดี เป็นสิ่งที่ทุกคนชอบ และชื่นชม ทำให้เป็นที่รักของผู้อื่นและทำให้ผู้อื่นมีความสุข ความดีทำได้หลายอย่าง เช่น
1)  มีความซื่อสัตย์ คือ การไม่หลอกลวง คดโกงผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เช่น ไม่เอาของของคนอื่นมาเป็นของตนเอง ไม่พูดปด เก็บของได้นำส่งคืนเจ้าของ เป็นต้น
2) ความกตัญญูกตเวที กตัญญู คือ การระลึกถึงบุญคุณ หรือประโยชน์ที่ผู้อื่นทำให้เรา เช่น พ่อแม่ เป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเรา พ่อแม่ดูแลลูกให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วน กตเวที คือ การตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีคุณต่อเรา เช่น ลูกช่วยเหลืองานบ้านเท่าที่ทำได้ ลุกเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ เป็นต้น
3) ความขยันหมั่นเพียร คือ ความพยายามที่จะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก เช่น พ่อขยันทำงานหาเลี้ยงครอบครัว นักเรียนขยันทำการบ้าน ครูขยันหมั่นเพียรในการสอน เป็นต้น
4) ความสามัคคี คือ ความร่วมมือร่วมใจในการทำงานต่าง ๆ จำสำเร็จ ซึ่งความสามัคคีต้องอาศัยความอดทน ความเสียสละ และรู้จักเห็นอกเห็นใจกัน
5) ความเมตตากรุณา คือ ความต้องการให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ และอยากให้ผู้อื่นมีความสุข เมื่อเรามีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น จะทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข



























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น