วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

เตรียมสอบ ป.1 - (สังคมศึกษา) สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์

เตรียมสอบ ป.1 - (สังคมศึกษา) สาระที่ 4  ประวัติศาสตร์


Download - เนื้อหา



สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์     





1.   การนับวัน เดือน ปี ตามระบบสุริยคติในปฏิทิน
     สุริยคติ คือ การนับวันเวลา โดยถือตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก

     วัน คือ ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง เป็นกลางวัน 12 ชั่วโมง และกลางคืน 12 ชั่วโมง วันในสัปดาห์จะมีทั้งหมด 7 วัน ซึ่งเริ่มนับวันตามลำดับ ดังนี้
1)   วันอาทิตย์
2)  วันจันทร์
3)  วันอังคารที่
4) วันพุธ
5) วันพฤหัสบดี
6) วันศุกร์
7) วันเสาร์

วันที่ ได้แก่ วันที่ 1, 2 , ....... ซึ่งไม่เกินวันที่ 31

เดือน มีทั้งหมด 12 เดือน เรียงตามลำดับได้ ดังนี้
1)   เดือนมกราคม       มี 31 วัน
2)  เดือนกุมภาพัน        มี 29 หรือ 29 วัน
3)  เดือนมีนาคม         มี 31 วัน
4) เดือนเมษายน         มี 30 วัน
5) เดือนพฤษภาคม       มี 31 วัน
6) เดือนมิถุนายน        มี 30 วัน
7) เดือนกรกฎาคม       มี 31 วัน
8)  เดือนสิงหาคม        มี 31 วัน
9)  เดือนกันยายน        มี 30 วัน
10)   เดือนตุลาคม        มี 31 วัน
11)     เดือนพฤศจิกายน     มี 30 วัน
12)   เดือนธันวาคม       มี 31 วัน


***ข้อสังเกต
-     เดือนที่ลงท้ายด้วย ยน มี 30 วัน
-     เดือนที่ลงท้ายด้วย คม” มี 31 วัน
-     เดือนกุมภาพันธ์ มี 28 หรือ 29 วัน (ทุก ๆ 4 ปี จะมี 29 วัน)

ปี คือ ช่วงเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ (12 เดือน หรือ 365 – 366 วัน)

2.  การนับวัน เดือน ปี ตามระบบจันทรคติ ในปฏิทิน
จันทรคติ คือ การนับวันเวลา โดยถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก
วัน การนับวันทางจันทรคติ เริ่มนับวันขึ้น 1 ค่ำ จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ แล้วจึงนับวันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ และวันแรม 15 ค่ำ ในเดือนคู่ จึงทำให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน

เดือน การนับเดือนทางจันทรคติ เริ่มต้นนับเดือนธันวาคม เป็นเดือน 1 เรียกว่า เดือนอ้าย เดือนมกราคมเป็นเดือน 2 เรียกว่า เดือนยี่ และนับเดือน 3 เดือน 4 ไปจึงถึงเดือน 12

ปี การนับปีทางจันทรคติ นับตามเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 9 วันครึ่ง ในเวลา 1 เดือน ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั้วโมง (เดือนขาด) แต่ถ้านับ 30 วัน เวลาจะเกินไป 12 ชั่วโมง (เดือนเต็ม) จึงต้องนับ 59 วัน เป็น 2 เดือน โดยให้นับเดือนคี่มี 29 วัน (เดือนขาด) และเดือนคู่ มี 30 วัน (เดือนเต็ม) โดยเดือนคี่เป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับจนครบ 12 เดือน แล้วเริ่มต้นใหม่ ถ้านับวันปีทางจันทรคติจะมีเพียง 354 วัน ซึ่งมีวันน้อยกว่าปีทางสุริยคติถึง 11 วันต่อปี เมื่อรวม 3 ปี จะได้ 33 วัน ดังนั้นในทุก ๆ 3 ปีทางจันทรคติ จะมีเดือน 8 สองหน คือจะมี 13 เดือน เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส

การอ่านวันตามระบบจันทรคติ ใช้วิธีอ่านจากตัวเลขไทยโดยเริ่มที่วันอาทิตย์เป็นหนึ่ง จนถึงวันเสาร์นับเป็นเจ็ด และมีการกำหนดดิถีดวงจันทร์ และตัวเลขเดือนกำกับอย่างย่อ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข ตัวอย่างเช่น


   อ่านว่า วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่





     คืนข้างขึ้น ดวงจันทร์จะสว่างขึ้นเป็นเสี้ยวเล็ก จะเต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำ
     คืนเดือนเพ็ญ ดวงจันทร์จะสว่างเต็มดวง (วันขึ้น 15 ค่ำ)
     คืนช้างแรม ดวงจันทร์ค่อย ๆ แหว่งเป็นรุปเสี้ยว จนมองไม่เห็นในวันแรม 14–15 ค่ำ

3.  การเรียงลำดับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
เราควรรู้จักคำที่บ่งบอกช่วงเวลาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสามารถบอกเล่าเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันให้พ่อแม่ หรือใคร ๆ ฟังได้ อันเป็นพื้นฐานของการบอกเล่าทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างคำบอกช่วงเวลา เช่น
o  ตอนเช้า ช่วงระหว่างรุ่งสว่างถึงเที่ยววัน หรือ 12.00 นาฬิกา
o  ตอนเที่ยง ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากอยู่เหนือศีรษะ (12.00 – 12.59 นาฬิกา)
o  ตอนบ่าย ช่วงเวลาหลังเที่ยงจนถึงก่อนพลบค่ำ (13.00 – 15.59 นาฬิกา)
o  ตอนเย็น ช่วงเวลาใกล้ค่ำ/ดวงอาทิตย์กำลังจะลับของฟ้า (16.00 – 18.00 นาฬิกา)

การเรียงลำดับเวลาก่อนหลัง ทำให้เรารู้จักวางแผนการทำงานให้เสร็จทันเวลา ฝึกให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังมีคำที่แสดงช่วงเวลาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่เราควรรู้จัก ดังนี้
o  วันนี้ คือ ช่วงเวลาในขณะนี้ (ปัจจุบัน)
o  เมื่อวานนี้ คือ ช่วงเวลาที่ผ่านไปแล้ว (อตีต) เป็นเวลาที่มาถึงก่อนวันนี้ 1 วัน
o  พรุ่งนี้ คือ ช่วงเวลาที่ยังมาไม่ถึง (อนาคต) เป็นเวลาที่ถัดจากวันนี้ 1 วัน

4.  ประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เมื่อทุกคนเกิดมาแล้วต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นให้ได้ เราจึงต้องมีการระบุข้อมูลบุคคล เพื่อให้ทราบตัวตน และรู้ที่มาของแต่ละบุคคล และครอบครัว ซึ่งเราสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการสมัครเข้าศึกษา สมัครงาน หรือประกอบธุรกิจในอนาคตตามที่เราสนใจได้
ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและนามสกุล เพื่อบ่งบอกว่าเป็นใคร นอกจากชื่อและนามสกุลแล้ ยังมีวัน เดือน และปีเกิด เพื่อจะได้รู้ว่าตนเองมีอายุเท่าใด จะได้แนะนำให้คนอื่นได้รู้จัก ซึ่งสิ่ง ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อมูลส่วนตัวของแต่ละคน ส่วนข้อมูลว่าตนเองเป็นลูกของพ่อแม่ ชื่อพี่น้อง ชื่อปู่ย่า ตายายของตัวเอง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อมูลของครอบครัวของเรา
ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และข้อมูลของครอบครัว มีประโยชน์ต่อตัวเราอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เรารู้จักตนเองว่าเป็นใคร และมีความเป็นมาอย่างไร เพื่อเข้าใจตัวเองมากขึ้น และสามารถบอกได้ว่าเราเป็นใคร ชอบสิ่งใด สนใจอะไร เหล่านี้เป็นต้น

วิธีการสืบค้นข้อมูลหรือประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว
เราสามารถสืบค้นข้อมูล หรือประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัวได้จาก
1)  สอบถามผู้รู้ เช่น พ่อ แม่ ครู ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ หรือคนที่รู้จักเรา หรือครอบครัวของเรา
2) ศึกษาจากสูติบัตร หรือใบเกิด ซึ่งเป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เชื้อชาติ การนับถือศาสนาของเราและพ่อแม่
3) ศึกษาจากทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุข้อมูลที่อยู่ จำนวนสมาชิก วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เชื้อชาติ การนับถือศาสนา และความสัมพันธ์ของสมาชิกในบ้าน
4) ศึกษาจากสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุข้อมูลส่วนตัว ผลการเรียนและพฤติกรรมของนักเรียนในแต่ละภาคเรียน
5) ดูจากรูปถ่ายส่วนตัวและครอบครัว จะบอกลักษณะรูปร่างของสมาชิกในครอบครัว และสถานที่ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในแต่ละช่วงเวลา
เมื่อทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว เราอาจนำข้อมูลเหล่านี้มาเขียนบันทึกไว้ หรือบอกเล่าประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัวให้ผู้อื่นได้รับรู้

5.  ความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
การดำเนินชีวิตของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุและเทคโนโลยีที่แพร่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบันจะมีความแตกต่างกับการดำรงชีวิตในสมัยพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างสิ่งของเครื่องใช้ของตนเองกับสมัยพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย

สิ่งที่ใช้ในอดีตหรือสมัยก่อน
สิ่งที่ใช้ในปัจจุบัน
-     ต้องเดิน หรือใช้เกวียนไปโรงเรียน
-     นุ่งโจงกระเบน ผ้าถุง ผ้าซิ่น
-     ใช้ควายไถนา
-     ใช้เตาถ่าน เตาฟืนหุงหาอาหาร
-     สร้างบ้านไม้หรือเรือนไทย
-     ใช้สิ่งของแลกเปลี่ยนสินค้ากัน
-     นั่งรถรับ – ส่ง ไปโรงเรียน
-     นุ่งกางเกง หรือกระโปรง
-     ใช้รถแทรกเตอร์ไถนา
-     ใช้เตาแก๊สหุงหาอาหาร
-     สร้างตึก อาคารที่ก่ออิฐถือปูน
-     ใช้เงินในการและเปลี่ยนสินค้า

6.  สัญลักษณ์ที่สำคัญของชาติไทย
ประเทศไทย เป็นชาติที่มีดินแดนเป็นของตนเองมาช้านาน และมีการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสืบต่อมา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นชาติไทยเรา สัญลักษณ์สำคัญของชาติไทยที่คนไทยทุกคนภาคภูมิใจ ได้แก่
1) ธงชาติ แสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติไทย เรียกว่า ธงไตรรงค์ แปลว่า ธง 3 สี แต่ละสีมีความหมายดังนี้
·      สีแดง หมายถึง ชาติ แสดงถึงการรวมเลือดเนื้อและชีวิตของคนไทย
·      สีขาว หมายถึง ศาสนา แสดงถึงความบริสุทธิ์ สะอาด ยึดมั่นในความดี
·      สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย

2) เพลงชาติ แสดงถึงสัญลักษณ์ความเป็นชาติไทย เนื้อหาของเพลงจะบ่งบอกถึงความเป็นรัฐชาติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี มีความรักชาติ รักความสงบ กล้าหาญ พร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อป้องกันประเทศ และรักษาเอกราชไว้ ดังนั้น เราจึงควรเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย วันละ 2 ครั้ง คือ เวลา 8.00 นาฬิกา และ 18.00 นาฬิกา

    


     3) พระมหากษัตริย์ไทย พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันมีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามย่อ ภ.ป.ร. ประสูติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ซ. 2470 ดังนั้น ชาวไทยจึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ และวันชาติไทย โดยใช้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ประจำวันพ่อ
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชินีของไทย มีพระนามย่อ ส.ก. ประสูติเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ชาวไทยจึงถือเอาวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันแม่แห่งชาติ โดยใช้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ประจำวันแม่
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส 1 พระองค์ และพระราชธิดา 3 พระองค์ ตามลำดับ ดังนี้
(1)        ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
(2)       สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
(3)       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(4)       สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

เราจึงภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงรักและห่วงใยประชาชนของพระองค์ คนไทยทุกคนรัก เทิดทูน และจงรักภักดีต่อพระองค์ ทั้งนี้เราสามารถแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ได้หลายวิธี เช่น
o  แสดงความเคารพเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินผ่าน
o  เคารพสิ่งแทนพระองค์ เช่น ภาพถ่าย หรือภาพวาดของพระองค์
o  ยืนตรงเมื่อได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
o  ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายความเคารพ
o  ประพฤติตนเป็นคนดี เช่น ตั้งใจเรียน มีความรักความสามัคคีกัน เป็นต้น

4) เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นเพลงที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระราชินีเมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ต้องบรรเลงเพลงนี้ ทั้งรับ และส่งเสด็จ และเราต้องแสดงความเคารพด้วยการยืนตรง


     นอกจากนี้ เพลงสรรเสริญพระบารมียังใช้ในช่วงเวลาก่อนฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ตลอดจนการแสดงคอนเสิร์ต ดนตรี และมหรสพต่าง ๆ ใช้ในช่วงยุติการกระจายเสียงประจำวันของสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย และใช้ในช่วงเริ่มต้น และยุติการแพร่ภาพออกอากาศประจำวันของสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ด้วย

6) อักษรไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ใน พ.ศ. 1826 เรียกกันว่า ลายสือไทย และได้มีการดัดแปลงตัวอักษรและวิธีการใช้เรื่อยมา ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีอักษรที่ใช้เขียนและอ่านเป็นภาษาไทย ประกอบด้วยพยัญชนะ 44 ตัว สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงสัญลักษณ์ไทย และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย
7.  เอกลักษณ์ และวัฒนธรรมไทย
เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัว หรือลักษณะที่แสดงความเป็นอย่างเดียวกันของคนในสังคมหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่เชิดหน้าชูตา และเป็นที่รู้จักของสังคมอื่น ส่วนวัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยที่เราควรภาคภูมิใจ มีดังนี้
1)  ภาษาไทย คนไทยใช้ภาไทยเป็นภาประจำชาติ ที่มีลักษณ์การอ่าน การเขียน และการพูด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
2) การไหว้ เป็นการแสดงความเคารพโดยประนมมือไหว้ ใช้พร้อมกับการกล่าวคำว่า สวัสดี” หรือ ขอบคุณ หรือ ขอโทษ ถ้าเป็นผู้ชายพูด ควรมีหางเสียงต่อท้ายคำเหล่านี้ว่า ครับ และ “ค่ะ สำหรับผู้หญิง
3) การกราบ เป็นการแสดงความเคารพโดยการนั่งคุกเข่าหรือพับเพียบ แล้วประนมมือก้มลงกราบกับพื้น โดยมีเอกลักษณ์ในการกราบ ดังนี้
(1)      การกราบพระ ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง
(2)     การกราบผู้ใหญ่ ต้องก้มลงกราบโดยไม่แบมือ 1 ครั้ง
(3)     การกราบศพ ต้องก้มลงกราบโดยไม่แบมือ 1 ครั้ง
4) นิสัยและมรรยาทไทย คนไทยมีนิสัยโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส โดยเฉพาะรอยยิ้มของคนไทย ที่ส่งให้กับชาวต่างชาติทุกครั้งที่พบเห็นจนเป็นที่ชื่นชมกันทั่วโลก ทำให้เมืองไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นสยามเมืองยิ้ม
5) การแต่งกาย คนไทยมีชุดแต่งกายประจำชาติที่เรียกว่า ชุดไทย และได้มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย แต่ยังคงเอกลักษณ์และความสวยงามอยู่ เช่น
·      ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตน หรือนุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อพระราชทาน
·      หญิง นุ่งผ้าถุง หรือโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม หรือห่มสไบ พร้อมกับรัดเข็มขัดอย่างเรียบร้อยสวยงาม
6) อาหารไทย อาหารไทยที่ต่างชาติยกย่องและรู้จัก เช่น ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ผัดไทย เป็นต้น
7) ประเพณีไทย ประเพณีไทยที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก เช่น ประเพณีสงกรานต์ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

8.  แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน
แหล่งวัฒนธรรม คือ แหล่งที่มีคุณค่า มีความสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่เป็นมาดกตกทอดจากบรรพบุรุษ สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตัวอย่างของแหล่งวัฒนธรรมในชุมชนที่ใกล้ตัวเรา เช่น
1) วัด มัสยิด โบสถ์คริสต์ สถานที่เหล่านี้ใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่พำนักของพระสงฆ์หรือนักบวช ซึ่งสถานที่เหล่านี้บางแห่งได้มีการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่มีค่าไว้ด้วย
2) พิพิธภัณฑ์ คือ สถานที่จัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ได้แก่ โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ เช่น พิพิธภัรฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์สยาม หรือมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เป็นต้น
3) แหล่งโบราณคดี เป็นแหล่งที่ต้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ หรือโครงกระดูก หรือสิ่งก่อสร้างของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น
4) โบราณสถาน คือ สถานที่หรือสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ มีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป เป็นสถานที่ควรศึกษาและน่าเรียนรู้เพื่อสืบทอดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญา และความสามารถของบรรพบุรุษ เช่น เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งโบราณสถานบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระเจดีย์ยุทธหัตถี พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ พระราชวังและพระตำหนักโบราณ เป็นต้น ดังนั้น โบราณสถาน จึงหมายความรวมถึงแหล่งโบราณคดีบางแห่งด้วย

แหล่งวัฒนธรรมในชุมชนเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นมาของชุมชนที่มีคุณค่า และมีความสำคัญต่อชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น ดังนั้น เราทุกคนควรช่วยกันดูแลรักษาแหล่งวัฒนธรรมในชุมชนไม่ให้ถูกทำลาย เพื่อให้อยู่คู่กับชุมชนสืบไป



Download - เนื้อหา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น