วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 1 ตัวเรา (สรุปเนื้อหา)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 1 ตัวเรา (สรุปเนื้อหา)




บทที่ 1 ตัวเรา 



สรุปเนื้อหา  



          หากสังเกตพ่อแม่ พี่น้อง และเพื่อน ๆ ที่อยู่รอบตัวเราต่างก็มีเส้นผม หู ตา ปาก ฟัน ลิ้น จมูก ขา ผิวหนัง แขน มือ และเท้า เรียกรวมกันว่า อวัยวะ โดยอวัยวะจะมีทั้งอวัยวะภายนอกตามที่กล่าวมาข้างต้น และอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ กระเพาะ อาหาร ลาไส้ ม้าม ตับ และปอด
         

          เส้นผมและหนังศีรษะ
หนังศีรษะ เป็นผิวหนังที่ห่อหุ้มส่วนของกะโหลกศีรษะ และมีเส้นผมปกคลุมอยู่ เส้นผมของแต่ละคนจะมีลักษณะและสีที่แตกต่างกัน เช่น ผมเส้นตรง หยักศก หรือ หยิก ผมสีดา น้าตาล น้าตาลอ่อน แดง หรือปลอนด์ทอง โดยที่ลักษณะและสีของเส้นผมที่แตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับเชื้อชาติด้วย เช่น คนแอฟริกา จะมีผมหยิกสีดา คนเอเชียจะมีผมตรง หรือหยักศกสีดาหรือน้าตาล คนยุโรป จะมีผมสีบลอนด์ทอง เส้นผม มีหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้ศีรษะเสียความร้อนมากเกินไป หรือป้องกันไม่ให้ความร้อนกระทบหนังศีรษะมากเกินไป แต่ต้องดูแลรักษาและทาความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้ การดูแลรักษาผม ควรสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หลังสระผมทุกครั้ง ควรเช็ดผมให้แห้งและหวีเบา ๆ ด้วยหวี และแปรงที่สะอาด


      นัยน์ตา
นัยน์ตา หรือ ตา เป็นอวัยวะที่สำคัญ ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ โดยการรับแสงสว่าง ตาประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เช่น
·      เปลือกตา เป็นส่วนที่ ปิด – เปิด ตา และช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่เปลือกตา จะมีขนตาที่ทาหน้าที่ป้องกันฝุ่นละออง
·      ต่อมน้าตา มีหน้าที่หลั่งน้าตาเพื่อหล่อเลี้ยงลูกตาให้ชุ่มชื้น
·      กระจกตา ม่านตา และรูม่านตา มีหน้าที่รับแสงให้ผ่านเข้าสู่นัยน์ตา และปรับประมาณแสงให้เหมาะสม

ลักษณะความผิดปกติของสายตา
ลักษณะความผิดปกติของสายตา คือ ไม่สามารถมองเห็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ หรืออยู่ไกล ๆ ได้ชัดเจน โดยถ้าไม่สามารถมองเห็นสิ่งของในระยะไกลได้จะมีสายตาสั้น หรือถ้าไม่สามารถมองเห็นสิ่งของในระยะใกล้ได้จะมีสายตายาว แต่สามารถแก้ไขความผิดปกติได้ด้วยการใช้แว่นตาที่ทาจากเลนส์นูน สาหรับคนสายตายาว และเลนส์เว้าสาหรับคนสายตาสั้น 
การดูแลรักษาดวงตาควรปฏิบัติ ดังนี้
1) การอ่านหรือเขียนหนังสือ ควรมีระยะห่างประมาณ 1 ฟุต และมีแสงสว่างเพียงพอ เพราะถ้าอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงไม่เพียงพอจะทาให้รู้สึกปวดตาได้ จึงควรพักผ่อนสายตาโดยการหลับตา หรือมองออกไปไกล ๆ สักครู่ และไม่ควรอ่านหนังสือในขณะที่รถแล่นอยู่
2) การดูโทรทัศน์ ควรมีระยะห่างประมาณ 1 ฟุตครึ่ง
3) ถ้ามีฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ควรลืมตาในน้าสะอาดเพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออก อย่าใช้นิ้วมือขยี้ตา
4) ควรบำรุงสายตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ เช่น มะละกอสุก ฟักทอง และผักบุ้ง
5) ควรใส่แว่นกันแดด ถ้าจาเป็นต้องมองในที่ ๆ มีแสงสว่างมากเกินไป 6) ควรตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากสายตาผิดปกติ ควรพบจักษุแพทย์

หู
หู เป็นอวัยวะที่ช่วยในการได้ยินเสียต่าง ๆ และยังเป็นอวัยวะที่ทางานเกี่ยวกับการทรงตัวของร่างหายขณะร่างกายเคลื่อนไหว การดูแลรักษาหูควรปฏิบัติ ดังนี้
1) ไม่ควรแคะขี้หูด้วยวัตถุแข็ง เช่น ไม้ หรือโลหะ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อหูได้ ขี้หูเป็นสิ่งที่ขับออกมาตามธรรมชาติ ซึ่งมีกลิ่นพิเศษที่ป้องกันไม่ให้แมลงเข้าหูได้ จึงไม่จาเป็นต้องแคะออก การทาความสะอาดหูควรใช้ผ้าชุบน้าพอหมาด ๆ เช็ดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่นิ้วมือจะสอดเข้าไปได้ ถ้ามีขี้หูมากและแข็งจนทาให้การได้ยินไม่ชัดเจน ก็อาจใช้น้ายากลีเซอรีนหยอดเข้าไปในรูปูวันละ 2 ครั้ง ก็จะทาให้ขี้หูนุ่ม และละลายไหลออกมา
2) เวลาเป็นหวัดไม่ควรสั่งน้ามูกแรง ๆ เพราะอาจทาให้เกิดแรงดัน ดันให้เข้าสู่หูชั้นกลางได้
3) หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป เช่น เสียงปืน เสียงพลุ หรือเสียงที่ดังตลอดเวลา เช่น เสียงเพลงจากหูฟัง เสียงเครื่องจักรทางานในโรงงานต่าง ๆ ควรใช้สาลีอุดหูไว้หรือใส่ที่ครอบหูเพื่อป้องกันเสียง
4) เมื่อมีแมลงเข้าหู่ อย่าพยายามแคะออก ควรใช้น้ามันพืชหยอดลงในรูหู แล้วทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แมลงตาย แล้วจึงเอียงหูให้น้ามันไหลออกมาพร้อมกับแมลงและใช้สาลีเช็ดให้แห้ง
5) ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู เช่น เด็กเล็ก ๆ ชอบนาเศษวัสดุใส่เข้าไปในรูหู ไม่ควรนาออกเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหู ควรไปพบแพทย์
6) ถ้ามีอาการผิดปกติของหู เช่น ปวดหู หูอื้อ ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน ควรปรึกษาแพทย์
7) เวลาอาบน้าหรือสระผม ควรระวังอย่าให้น้าเข้าหู และควรใช้ผ้าสะอาดเช็ดใบหูหลังจากอาบน้าเสร็จ หากมีน้าเข้าหูให้เอียงหูข้างนั้นลง น้าจะไหลออกมาได้เอง หรือใช้ไม้พันสาลีเช็ดบริเวณช่องหูด้านนอก


จมูก
จมูก เป็นทางผ่านของอากาศเพื่อเข้าไปสู่ปอด และเป็นทางผ่านเพื่อนาอากาศเสียออกจากปิด ภายในจมูก จะมีขนเพื่อกรองฝุ่นละออกที่ปะปนมากับอากาศ และส่วนที่ทาหน้าที่รับกลิ่นด้วย การดูแลรักษาจมูกควรปฏิบัติ ดังนี้
1) ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้าหมาด ๆ เช็ดในรูจมูกเบา ๆ
2) ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก
3) ไม่ควรใช้นิ้วมือหรือวัตถุแข็ง ๆ แคะจมูก เพราะอาจทาให้อักเสบและติดเชื้อโรค
4) ไม่ควรสั่งน้ามูกแรง ๆ เมื่อเป็นหวัด
5) ไม่ควรถอนขนจมูกหรือตัดให้สั้น เพราะจะทาให้ฝุ่นละอองและเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
6) ระวังไม่ให้จมูกได้รับการกระแทกอย่างแรง เพราะอาจทาให้เลือดกาเดาไหล
7) ไม่ควรนาเมล็ดผลไม้หรือสิ่งต่าง ๆ ใส่เข้าไปในจมูก เพราะอาจจะหลุดเข้าไป และปิดทางเดินหายใจ ทาให้เสียชีวิตได้
8) หากมีอาการผิดปกติที่จมูกควรปรึกษาแพทย์

ปาก ฟัน และลิ้น
ปาก
ปาก เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เป็นช่องทางรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย ใช้ในการสื่อสารภายในปากยังมีฟันทาหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร และลิ้นมีหน้าที่ช่วยในการรับรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม ฟัน ฟัน ทาหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง ฟันของคนมี 2 ชุด คือ ฟันน้านม มี 20 ซี่ เริ่มงอกเมื่ออายุประมาร 6 เดือน และเริ่มหลุดเมื่ออายุ 6 ปี โดยจะมีฟันชุดที่ 2 คือ ฟันแท้งอกขึ้นมาแทน ฟันแท้มีทั้งสิ้น 32 ซี่

ลิ้น
ลิ้น เป็นมัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่สามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทางอยู่ภายในช่องปาก มีหน้าที่ช่วยในการออกเสียง ช่วยในการเคี้ยวและกลืนอาหาร เป็นอวัยวะที่สาคัญในการรับรส การดูแลรักษาปาก ฟัน และลิ้น ควรปฏิบัติ ดังนี้
1) แปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนเข้านอน และหลังตื่นนอนตอนเช้า ทุกครั้งที่แปรงฟัน จะต้องแปรงให้ถูกวิธี
2) หลังรับประทานอาหาร ควรแปรงฟัน หรือบ้วนปากด้วยน้าสะอาดทุกครั้ง
3) ควรรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใย เช่น แตงกวา มะเขือเทศ ชมพู่ จะช่วยนวดเหงือกและฟัน
4) ไม่รับประทานอาหารพวกลูกอม และอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจทาให้ฟันผุได้
5) ควรไปตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน
6) ระหว่างรับประทานอาหารค่อย ๆ เคี้ยว เพราะอาจจะกัดลิ้นเป็นแผลได้
7) หมั่นสังเกตลิ้นว่าเป็นฝ้าขาว หรือเป็นแผลหรือไม่ และถ้าพบความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์

มือ และนิ้วมือ
มือ และนิ้วมือ เป็นอวัยวะที่ใช้หยิบจับสิ่งของ และทางาน และยังสามารถบอกถึงสุขภาพในขณะนั้นได้อีกด้วย มนุษย์มีมือ 2 ข้าง มือแต่ละข้างมี 5 นิ้ว เนื่องจากเราใช้มือในการหยิบจับสิ่งต่าง ๆ มือและนิ้วมือจึงเป็นอวัยวะที่สกปรกได้ง่าย จึงควรล้างมือและนิ้วมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนการเตรียมอาหาร และหลังรับประทานอาหาร หรือหลังเข้าห้องน้า ห้องส้วม หลังไอ จาม หลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง และกลับมาจากนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคที่มือเข้าไปในร่างกาย

 การดูแลรักษามือและนิ้วมือ ควรปฏิบัติ ดังนี้
1) ล้างมือให้สะอาดด้วยน้าและน้ายาล้างมือ ก่อนการเตรียมอาหาร ก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้า หลังไอ และจาม หลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง และกลับมาจากนอกบ้าน
2) ไม่อมนิ้วมือ เพราะจะทาให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
3) ควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ

ขาและเท้า
ขาและเท้า เป็นส่วนที่รับน้าหนักของร่างกาย และเป็นอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ จึงสัมผัสกับฝุ่นผงต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงควรหมั่นทาความสะอาดอยู่ การดูแลรักษาเท้าควรปฏิบัติ ดังนี้
1) ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ และน้า เมื่อล้างเท้าแล้ว ควรเช็ดให้แห้ง
2) ตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ
3) สวมรองเท้าเพื่อป้องกันเชื้อโรค




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น