แรง เป็นพลังงานที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลง และเกิดการเคลื่อนที่โดยเปลี่ยนจากหยุดนิ่งเป็นเครื่องที่ หรือทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วเคลื่อนที่เร็วขึ้น ช้าลง หรือหยุดนิ่ง เช่น การดัน หรือดึงบานประตู การยกหนังสือ เข็ญรถ สามารถแบ่งประเภทของแรงออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
แรงที่เกิดจากธรรมชาติ
แรงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แรงน้ำ แรงลม แรงแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งแรงเหล่านี้มนุษย์ไม่สามารถกระทำให้เกิดขึ้นได้ แรงธรรมชาติมีทั้งประโยชน์ และโทษ เช่น แรงน้ำทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของน้ำ มนุษย์ใช้ประโยชน์ในการคมนาคม แต่หากแรงน้ำมากเกินไปอาจทำอันตรายผู้คนและบ้านเรือนได้ เช่น ทำให้หินและดินโคลนจากภูเขาถล่มทับบ้านเรือน ทำให้บ้านเรือนเสียหายและผู้คนบาดเจ็บล้มตาย
แรงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
แรงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ จากหยุดนิ่งเป็นเคลื่อนที่ วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วให้เคลื่อนที่เร็วขึ้น ช้าลง หรือหยุดนิ่ง และเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เช่น เมื่อเราดันหรือดึงประตู ยกหนังสือ ยกกระเป๋า หรือขับรถยนต์ สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถเคลื่อนที่ได้ เป็นการกระทำของมนุษย์ ทำให้เกิดขึ้นโดยการออกแรงของมนุษย์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
· แรงผลัก
แรงผลัก หมายถึง การออกแรงดันให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัวเราไปทางด้านหน้า กิจกรรมในชีวิตประจำวันทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับแรงผลัก เช่น การผลักหน้าต่าง และประตูให้เปิดออกไป เตะฟุตบอล เข็นรถเข็น ขี่รถจักรยาน ตีลูกเทนนิส ตีลูกปิงปอง โยนห่วงลงหลัก
· แรงดึง
แรงดึง หมายถึง การออกแรงเหนี่ยวหรือดึง ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามาหาตัวเรา ซึ่งเป็นทิศทางตรงกันข้ามกับแรงผลัก กิจกรรมในชีวิตประจำวันของทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับแรงดึงด้วยเหมือนกัน เช่น ดึงกล่องมาหาตัวเรา ดึงผ้าจากราวตากผ้า ยกกระเป๋าหนังสือจากพื้น ชักเย่อ ลากรถของเล่น ดึงเชือกสปริงให้ยืดออกเพื่อออกกำลังหาย ช้างลากท่อนไม้ ดึงสายธนูเพื่อยิงเป้า
ผลของการออกแรง
แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ แรงทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่เปลี่ยนแปลงไป เร็วขึ้น ช้าลง หยุดนิ่งอยู่กับที่ หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้ แรงยังมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ เช่น การออกแรงขยำวัตถุแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวร หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียงชั่วคราว เช่น การขยำแผ่นกระดาษ จะทำให้แผ่นกระดาษยับยู่ยี่ไม่เรียบ การขยำผ้าหรือฟองน้ำที่ซักให้สะอาดจะทำให้ผ้าหรือฟองน้ำยับยู่ยี่เพียงชั่วคราว เมื่อนำผ้าไปรีดหรือปล่อยให้แห้งและหยุดขยำฟองน้ำ จะทำให้ผ้าหรือฟองน้ำเรียบเหมือนเดิม เมื่อออกแรงบีบ กด หรือดัด ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากเดิมแบบถาวร เช่น การทำเค้าหู้แผ่น หรือการเอาดินเหนียว ดินน้ำมัน นำมาปั้นแล้วบีบกดให้เป็นรุปต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น โอ่งน้ำ การถางต้นไม้ เครื่องปั้นดินเผาต่าง ๆ หรือนำผ้ามาตัดเป็นเสื้อ กางเกง และกระโปรง ทรายเมื่อถูกความร้อนจะหลอมละลายเมื่อนำไปใส่ในแม่พิมพ์แบบต่าง ๆ หรือเป่าให้โป่งออก แล้วทำให้เย็นทันที ทรายจะเปลี่ยนแปลงรุปร่างไปจากเดิมแบบถาวร เช่น ขวด แก้ว จาน แจกัน รูปสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งจะมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรไม่กลับมาอยู่ในสภาพเดิม วัตถุบางชนิดเมื่อออกแรงกระทำแล้ว รูปร่างของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และสามารถกลับคืนเหมือนเดิมเมื่อแรงที่กระทำหมดไป เช่น ยางรัดของ สปริง ฟองน้ำ ลูกโป่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น