วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 2 ตัวเรา (สรุปเนื้อหา)

เตรียมสอบ ป.1- วิชาวิทยาศาสตร์ - บทที่ 2 ตัวเรา (สรุปเนื้อหา)





บทที่ 2 ชีวิตสัตว์



สรุปเนื้อหา  




     โลกของเรา มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก มีทั้งสัตว์ พืช และจุลินทรีย์ บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้ บางชนิดเคลื่อนที่ได้ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะมีรูปร่าง ลักษณะ ขนาด ที่อยู่อาศัย และมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน
     สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถเคลื่อนที่ กินอาหาร หายใจ ขับถ่ายของเสียได้ และมีความสามารถในการสืบพันธุ์เพื่อให้มีลูกหลานต่อ ๆ ไป
ถ้าแบ่งประเภทของสัตว์ด้วยลักษณะของโครงสร้าง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกเป็นแกนของร่างกาย เช่น พยาธิ กุ้ง หอย ปู หมึก และแมลง สัตว์บางชนิดจึงสร้างเปลือกแข็งขึ้นมาห่อหุ้มร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายและค้ำจุนร่างกาย เช่น กุ้ง หอย ปู แมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจะมีรูปร่าง ลักษณะ และการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน สามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภท ดังนี้

·      พยาธิ
พยาธิ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวยาว รูปร่างกลม หรือแบน พยาธิส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในร่างกายคน หรือสัตว์ต่าง ๆ ดูดเลือดและสารอาหารจากคน หรือสัตว์เป็นอาหาร
·      กั้งและปู
กุ้ง กัง และปู เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ที่ส่วนหัวจะมีตา 1 คู่ ส่วนท้องจะมีลักษณะเป็นปล้อง ขาเป็นข้อต่อ ส่วนปลายเป็นก้ามหรือใบพายใช้ว่ายน้ำหรือจับอาหารกิน

·      แมงและแมลง
แมงและแมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว
o  แมลง ลำตัวจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้องที่ส่วนหัวมีตาและหนวด ที่ส่วนอกมีขาต่อกันเป็นข้อ ๆ จำนวน 3 คู่ สำหรับ เดิน วิ่ง กระโดด หรือจับอาหารกิน ส่วนท้องแบ่งออกเป็นปล้อง ๆ เช่น มด แมลงวัน ผึ้ง ต่อ ตั๊กแตน จิ้งหรีด ด้วง แมลงภู่ แมลงปอ
o  แมง ลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วน และมีจำนวนขามากกว่า หรือบางชนิดมีขา 4 คู่ เช่น ตะขาบ แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง

·      หอย และหมึก
หอย จัดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว เป็นหินปูน หอยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่น หอยกาบ หอยโข่ง หอยขม บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำเค็ม เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยกะพง หอยลาย หอยนางรม หอยมือเสือ หอยมุก และยังมีหอยบางชนิดอาศัยอยู่บนบก เช่น หอยทาก หอยส่วนใหญ่เป็นอาหารของคน และสัตว์
หมึก จัดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่มเช่นกัน มีรูปร่างเรียวยาว ส่วนหัวมีหนวด ว่ายน้ำโดยการพ่นน้ำออกจากลำตัว ในลำตัวของหมึกทะเลบางชนิดจะมีแผ่นแข็ง ๆ อยู่ทางด้านหลัง เรียกว่า กระดองหมึก ชาวประมงนิยมเรียกว่า ลิ้นทะเล ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกายหมึก เช่น หมึกกล้วย หมึกหอม หรือ หมึกตะเภา และหมึกกระดอง หมึกส่วนใหญ่เป็นอาหารของคนและสัตว์

สัตว์มีกระดูกสันหลัง
สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือ สัตว์ที่มีกระดูกแกน ซึ่งจะต่อกันเป็นข้อ ๆ กระดูกเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นแกนของร่างกาย เช่น คน หมู สุนัข ไก่ เป็ด วัว ช้าง เสือ ลิง ปลา จระเข้ สัตว์ต่าง ๆ ที่มีกระดูกสันหลังจะมีรูปร่างลักษณะและการดำรงชีวิตแตกต่างกัน สามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภท ดังนี้

     สัตว์น้ำ
     สัตว์น้ำมีทั้งที่อาศัยในน้ำจืด และน้ำเค็ม ปลาบางชนิดมีเกล็ด แต่บางชนิดไม่มีเกล็ด มีเมือกปกคลุม หายใจด้วยเหงือก มีรูปร่างเรียวยาว มีครีบช่วยในการเคลื่อนที่ในน้ำ ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ แต่มีปลาบางชนิดออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด และปลาฉลาม ปลาบางชนิดกันสัตว์เป็นอาหาร เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาฉลาม แต่บางชนิดกินพืชเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียรขาว ปลาไน ปลานิล และปลาสลิด

     สัตว์สะเทินน้ำทะเทินบก
     สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จะออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนจะมีรูปร่างคล้ายปลา มีหางช่วยในการเคลื่อนที่ หายใจด้วยเหลือก เรียกว่า ลูกอีอด ซึ่งอาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในน้ำระยะหนึ่ง แล้วจะขึ้นมาอาศัยบนบก มีรูปร่างเหมือนกับพ่อแม่ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยที่ส่วนหางจะหายไป และมีขาเกิดขึ้น 4 ขา หายใจด้วยปอดและผิวหนัง ซึ่งช่วงนี้เรียกว่า ตัวเต็มวัย ดำรงชีวิตโดยการกินแมลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น อึ่งอ่าง คางคก เขียด กบ

     สัตว์เลื้อยคลาน
     สัตว์เลื้อยคลาน อาศัยอยู่บนบก บางชนิดมีผิวหนังปกคลุมด้วยเกล็ดแข็ง และแห้ง แต่บางชนิดไม่มีเกล็ด มีขา 4 ขา ยกเว้น งู ที่ไม่มีขา หายใจด้วยปอด ออกลูกเป็นไข่ มีเปลือกแข็งหรือเปลือกเหนียวนิ่ม ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตโดยการกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น จระเข้ จิ้งจก ตุ๊กแก งูเหลือม ยกเว้นเต่าที่กินพืชมากกว่าสัตว์

     สัตว์ปีก
     สัตว์ปีก อาศัยอยู่บนบก มีขา 2 ขา และมีปีก 2 ปี ส่วนใหญ่สามารถบินได้ ยกเว้นนกเพนกวิน นกกระจอกเทศ นกอีมู และนกกีวี ร่างกายปกคลุมด้วยขนที่มีก้านแข็งเป็นแกนกลาง หายใจโดยใช้ปอด ออกลูกเป็นไข่ มีเลือกแข็งหุ้ม เช่น นก เป็น ไก่ ห่าน หงส์ สัตว์พวกนกมีหลายชนิดที่รู้จักพบทั่วไปตามที่ต่าง ๆ เช่น นกกระจอก กา นกเอี้ยง นกพิราบ นกกางเขน นกแก้ว นกขุนทอง กระกระทา นกกระยาง นกปากห่าง นกเค้าแมว เหยี่ยว นกกาเหว่า และนกนางนวล นกบางชนิดเป็นสัตว์หายาก เช่น นกเงือก นกกาฮัง นกหัวขวาน กระกะราง นกขมิ้น และนกยูง

     สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
     สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เพศเมียจะมีต่อมน้ำนมเพื่อสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก ร่างกายปกคลุมด้วยขนที่เป็นเส้นขนาดเล็ก หายใจโดยใช้ปอด ออกลูกเป็นตัว การดำรงชีวิตบางชนิดกินสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต หมาป่า บางชนิดกินพืชเป็นอาหาร เช่น เก้ง กวาง กระต่าย ค้างคาว บางชนิดกินทั้งพืชและสัตว์ เช่น กน ลิง คน

*** น่ารู้
·      วาฬ โลมา และพะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่อาศัยอยู่ในน้ำ
·      ค้างคาว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีปีก
·      ตุ่นปากเป็นและตัวกินมด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ออกลูกเป็นไข่

สัตว์ต่าง ๆ ทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ต่างก็มีประโยชน์แก่คน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
1)  ใช้ส่วนต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น
o  ใช้เนื้อ เช่น เป็น ไก่ หมู่ ปลา กบ วัว ควาย แพะ กุ้ง หอย ปู และแกะ
o  ใช้น้ำนม ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่ากับมนุษย์ แต่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมารับประทาน สัตว์ที่นิยมนำมารีดน้ำนม เช่น วัว ควาย และแพะ แต่ส่วนใหญ่นิยมรีดน้ำนมจากวัวมากที่สุด
o  ใช้ไข่ เช่น เป็น ไก่ นกกระทา นกกระจอกเทศ และปลา
2) ใช้แรงงาน เช่น
o  ใช้ไถนา นิยมใช้วัวและควาย
o  ใช้เป็นพาหนะ และบรรทุกของ เช่น วัว ควาย ม้า ลา และล้อ
o  ใช้แรงงานอื่น ๆ เช่น ใช้ช้างลากท่อนซุง และใช้ลิงเก็บมะพร้าว

3) ใช้ขน หนัง และอวัยวะอื่น ๆ มาผลิตเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น
o  ใช้ขนผลิตเป็นเสื้อผ้า เครื่องกันหนาว พรม แปรง หมอน เช่น แกะ ตัวมิ้ง จามรี กระต่าย เป็ด แมวน้ำ
o  ใช้หนังมาผลิตของใช้พวกกระเป๋า รองเท้า เข็มขัด เช่น วัว ควาย จระเข้ ช้าง ม้า อูฐ แกะ ปลา
o  ใช้กระดูก เขา งา ฟัน เกล็ด และนอ มาทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ช้าง วัว ควาย แรด ปลา
4) นำมาฝึกให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น
o  แสดงท่าทางต่าง ๆ เพื่อการแสดง เช่น ช้าง ม้า ลิง โลมา และวาฬ ส่วนนกแก้ว และนกขุนทอง สามารถฝึกสอนให้พูดภาษาคนได้
o  ฝึกให้ทำงานในส่วนของการกู้ภัย หรือค้นหาสารเสพติด ได้แก่ สุนัข
5) นำมาเลี้ยงเพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น
o  งานทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ เช่น กระต่าย หนู ม้า งู
o  เลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น สุนัข แมว กระต่าย นก หนู ปลา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น